วันศุกร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2560

โภชนาการ

 
 โภชนาการ
 โภชนาการ  มีความหมายกว้างกว่าคำว่าอาหารมาก โดย โภชนาการ หมายถึง เรื่องต่างๆ ที่ว่าด้วยอาหาร  เช่น  การจัดแบ่งประเภทสารอาหาร  ประโยชน์ของอาหาร  การย่อยอาหาร  โรคขาดสารอาหาร  เป็นต้น โภชนการจึงเป็นวิชาการสาขาหนึ่ง  ซึ่งมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ที่กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของอาหารที่รับประทานเข้าไปเพื่อประโยชน์ในการบำรุงร่างกาย





 โภชนาบัญญัติ 9 ข้อ มีดังนี้
  1. รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายและหมั่นดูแลน้ำหนักตัว
  2. รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้งเป็นบางมื้อ
  3. รับประทานพืชผักให้มาก และรับประทานผลไม้เป็นประจำ
  4. รับประทานปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมันไข่ และถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ
  5. ดื่มนมให้เหมาะสมตามวัย
  6. รับประทานอาหารที่มีไขมันแต่พอสมควร
  7. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด
  8. รับประทานอาหารที่สะอาด ปราศจากการปนเปื้อน
  9. งดหรือลดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ 

แหล่งที่มา:
-https://sites.google.com/site/krujunechotirot/httpssitesgooglecomsitekrujunechotirotsara-wicha/xahar-hmu-thi1/xahar-hmu-thi2/xahar-hmu-thi3/xahar-hmu-thi4/xahar-hmu-thi5/thng-phochnakar
-https://www.dekthaidd.com/knowledge-detail.aspx?nid=2

วันพฤหัสบดีที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2560

อาหารและสารอาหาร




อาหาร
 
คือ สิ่งที่รับประทานเข้าสู่ร่างกายแล้วไม่เป็นโทษต่อร่างกายและมีประโยชน์ โดยทำให้ร่างกายดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขและให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งพลังงานเหล่านี้นำมาใช้ในการดำเนินกิจกรรมและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
 
สารอาหาร






คือ องค์ประกอบของสารประกอบทางเคมีของธาตุต่างๆ ที่มีอยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไป สารอาหารมีโครงสร้างโมเลกุลเฉพาะตัวเรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า อาหารแต่ละชนิดประกอบด้วยโมเลกุลของสารอาหารหลายๆ ตัว ร่างกายเรานั้นต้องการสารอาหารกว่า 40 ชนิดเลยค่ะ และก็เพื่อให้ง่ายยิ่งขึ้นจึงจัดสารอาหารออกเป็นพวกๆ ที่สำคัญมีอยู่ 6 จำพวก การจำแนกสารอาหารตามหลักโภชนาการจะพิจารณาจากปริมาณของสารอาหารที่มีอยู่ในอาหารนั้นๆ มากที่สุดเป็นหลัก ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 5 หมู่

  






แหล่งที่มา


https://healthgossip.co/what-is-nutrient/
https://sites.google.com/site/wwwhygiene/3-1-phochn-bayyati-9-prakar

อาหาร 5 หมู่

อาหาร 5 หมู่






หมู่ที่ 1 โปรตีน





      เนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว โปรตีน ถือว่าเป็นธาตุอาหารที่สำคัญที่สุดในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ โปรตีน เป็นสารอินทรีย์  ในแง่โภชนาการ โปรตีนเป็นสารอาหาร ที่ให้พลังงาน โปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 แคลอรี (calorie) โปรตีนเป็นส่วนประกอบของร่างกาย ที่มีปริมาณมากเป็นอันดับสองรองจากน้ำ  โดยเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของเซลสิ่งมีชีวิต เช่น เอนไซม์ (enzyme) ฮอร์โมน ซึ่งจำเป็นต่อการทำงาน และการดำรงชีวิต มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและการเสริมสร้างเนื้อเยื่อส่วนที่สึกหรอของสัตว์
ประโยชน์
-ร่างกายมีความต้องการโปรตีนอยู่เสมอเพื่อนำโปรตีนไปซ่อมแซมเนื้อเยื่อในส่วนที่สึกหรออยู่ทุกวัน
-โปรตีนเป็นสารอาหารที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย
-โปรตีนมีส่วนช่วยรักษาดุลน้ำ เพราะโปรตีนที่มีอยู่ในเซลล์และหลอดเลือดจะช่วยรักษาปริมาณน้ำในเซลล์และหลอดเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่มีความเหมาะสม
-ช่วยรักษาสมดุลกรด – ด่างของร่างกาย เนื่องจากกรดอะมิโนนั้นจะมีหน่วยคาร์บอกซีลที่มีฤทธิ์เป็นกรดและเป็นด่าง ดังนั้นโปรตีนจึงมีคุณสมบัติช่วยรักษาดุลกรด – ด่างและถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการเกิดปฏิกิริยาต่างๆ ภายในร่างกาย

หมู่ที่ 2 คาร์โบไฮเดรต




     เป็นสารอาหารที่พบมากในอาหารประเภท ข้าว แป้ง น้ำตาล เผือก มัน และพืชผักผลไม้ที่มีรสหวาน คือ สารประกอบอินทรีย์ เป็นสารอาหารที่เป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญของมนุษย์ คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงานเท่ากับ 4 แคลอรี (calorie)
ประโยชน์

-ให้พลังงานและความร้อน หรือให้พลังงานและความอบอุ่นแก่ร่างกาย โดยคาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงานประมาณ 4 แคลอรี่ และเป็นพลังงานที่จะถูกร่างกายนำมาใช้ก่อนสารอาหารประเภทไขมันและโปรตีนตามลำดับ
-ช่วยให้ร่างกายนำสารอาหารโปรตีนไปใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ กล่าวคือ ถ้าร่างกายได้ พลังงานจากคาร์โบไฮเดรตมาใช้ไม่เพียงพอ ร่างกายจะนำเอาโปรตีนมาสลายให้เกิดพลังงาน แทนร่างกายก็จะผอมลงได้

-ช่วยทำลายพิษและขจัดสารพิษ สารเคมีบางอย่างเมื่อเข้าไปในร่างกายโดยบังเอิญหรือติดไปกับอาหาร ตับจะกำจัดสารพิษโดยทำปฎิกิริยากับสารพวกคาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นสารที่ไม่มีพิษ โดยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของตับ ซึ่งเป็นอวัยวะส่วนสำคัญของร่างกายในการขจัดสารพิษในเลือด
-ช่วยในการขับถ่าย เซลลูโลสช่วยกระตุ้นในการทำงานของลำไส้และ ป้องกันการท้องผูก
-ใช้เป็นพลังงานสำรองของร่างกาย ถ้าร่างกายรับประทานพวกคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ส่วนเกินนี้จะถูกปลี่ยนเป็นไขมันสะสมไว้ตามเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย และจะถูกนำมาใช้เมื่อร่างกายขาดแคลนพลังงาน
-ช่วยให้ไขมันเผาไหม้สมบูรณ์ ไขมันในร่างกายจะเผาไหม้ไม่สมบูรณ์
 -ช่วยรักษาสภาพสภาวะน้ำตาลในเลือดให้คงที่ คือ 70-100 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 มิลลิลิตร ทำงานปกติ








หมู่ที่ 3 เกลือแร่และแร่ธาตุ




    เป็นสารอาหารอีกประเภทหนึ่งที่ร่างกายต้องการและขาดไม่ได้เพราะแร่ธาตุบางชนิดเป็นส่วนประกอบของอวัยวะและกล้ามเนื้อบางอย่าง  เช่น  กระดูก  ฟัน  เลือด  บางชนิดเป็นส่วนของสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตในร่างกาย เช่น ฮอร์โมน  เฮโมโกลบิน  เอนไซม์  เป็นต้น  นอกจากนี้แร่ธาตุยังช่วยในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายให้ทำหน้าที่ปกติ  เช่น  ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาท  การแข็งตัวของเลือด  และช่วยควบคุมสมดุลของน้ำในการไหลเวียนของของเหลวในร่างกาย
ประโยชน์
-ช่วยในการมองเห็นของดวงตา โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีแสงสว่างน้อ
-ช่วยเผาผลาญโปรตีนที่อยู่ในร่างกาย เพื่อให้เกิดพลังงาน
-มีส่วนสำคัญต่อการทำงานของเซลล์ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นระบบประสาท ไขกระดูก หรือทางเดินอาหาร



หมู่ที่ 4 วิตามิน






เป็นสารอาหารที่ร่างกายของเราต้องการในปริมาณน้อย แต่ก็ไม่สามารถขาดได้ ถ้าขาดจะทำให้ระบบร่างกายของเราผิดปกติ หรือเกิดโรคต่างๆได้ วิตามินแบ่งออกเป็น 2 พวก ได้แก่
วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อี เค
-วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินซี และวิตามินบีรวม
ประโยชน์
-ช่วยควบคุมสมดุลน้ำ เนื่องจากโพแทสเซียมและโซเดียมมีส่วนช่วยในการควบคุมความสมดุลของน้ำทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกเซลล์
-มีส่วนช่วยในการเร่งเผาผลาญ เนื่องจากเผาผลาญหลายชนิดที่อยู่ในร่างกายจะดำเนินไปได้นั้น ต้องมีเกลือแร่เป็นตัวเร่ง เช่น แมกนีเซียม ถือเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีความเกี่ยวข้องกับการเผาผลาญกลูโคสให้เกิดพลังงาน




หมู่ที่ 5 ไขมัน
 


ประกอบไปด้วยกะทิมะพร้าว น้ำมันรำ น้ำนมถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์ม เป็นต้น ซึ่งอาหารประเภทนี้จะมีส่วนในการให้สารอาหารประเภทไขมันแก่ร่างกาย จึงทำให้ร่างกายมีการเจริญเติบโต อีกทั้งร่างกายจะเกิดการสะสมพลังงานที่ได้จากอาหารประเภทนี้ไว้ใต้ผิวหนังตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น บริเวณสะโพก และบริเวณต้นขา เป็นต้น และไขมันที่สะสมไว้นี้จะให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ทั้งยังเป็นพลังงานที่สะสมไว้ใช้ในเวลาที่จำเป็นระยะยาวอีกด้วย


ประโยชน์ไขมัน


-ไขมันในปริมาณ 1 กรัม จะให้พลังงานมากถึง 9 กิโลแคลอรี ช่วยทำให้ร่างกายมีพลังงานที่จะทำงานและประกอบกิจวัตรประจำวัยได้ตามปกติ
-ไขมันจะทำให้รสชาติของอาหารถูกปาก แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีไขมันในปริมาณที่พอเหมาะ
-มีส่วนช่วยทำให้อิ่มท้องได้นาน ไม่ทำให้รู้สึกหิวบ่อยๆ
ไขมันช่วยในการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมัน (Fat soluble Vitamins) เช่น วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกาย
ไขมันช่วยปกป้องและกันความร้อน รวมทั้งคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดยทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน (Thermal Insulator) ของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังและอวัยวะที่อยู่ภายในร่างกาย
ไขมันเป็นส่วนประกอบสำคัญของเนื้อเยื่อประสาทนั่นคือ เส้นประสาทของคนเราจะมีไขมันเป็นส่วนประกอบในอัตราที่สูง โดยเฉพาะจะหุ้มเส้นประสาท ช่วยในการป้องกันเส้นประสาทให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อถูกสั่งจากสมองไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
ไขมันช่วยเป็นเสมือนกันชนให้ร่างกาย คือช่วยป้องกันการกระเทือนของอวัยวะภายในร่างกาย ที่เกิดจากแรงกระแทกหรือการเคลื่อนไหวอย่างแรงของร่างกาย ซึ่งคอยป้องกันการบาดเจ็บของอวัยวะภายในร่างกาย













แหล่งที่มา: